เที่ยวไหว้พระเชียงราย วัดพระสิงห์เชียงราย กราบสักการะ พระสิงห์

จังหวัดเชียงราย นอกจากเป็นศูนย์รวมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแล้ว ยังเป็นแหล่งรวมวัดสวยๆไว้อีกมากมาย และ วัดพระสิงห์เชียงราย นั้นเป็นพระอารามหลวงที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปะแบบล้านนาอย่างวิจิตรตระการตา อีกทั้งยังเป็น วัดดังเชียงราย ที่ตั้งประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญอย่าง “พระสิงห์” หรือ “พระพุทธสิหิงห์” ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเรานิยมไปกราบไหว้กัน

วัดพระสิงห์เชียงราย วัดสวยน่าเที่ยว

ประวัติ วัดพระสิงห์ เชียงราย

“วัดพระสิงห์” เชียงราย แห่งนี้เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งในวัดเก่าแก่คู่เมืองเชียงรายมาอย่างยาวนาน ด้วยในอดีตเคยเป็นทีประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” หรือ  “พระสิงห์” พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันวัดพระสิงห์มีสถานภาพเป็นพระอารามหลวงประจำจังหวัดเชียงราย

วัดพระสิงห์เชียงราย

โดยมีการสันนิษฐานว่า วัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ณ ขณะนั้น โดยพระเจ้ามหาพรหมได้มาขึ้นครองเมืองเชียงราย ในช่วงปี พ.ศ.1888 – 1943 จึงสันนิษฐานกันว่า วัดสวยเชียงราย แห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1928 นั่นเองครับ

ความน่าสนใจของ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย

1. พระสิงห์

ได้ทำการสร้างจำลองขึ้น และประดิษฐานอยู่ในพระวิหารแก้ว หรือหอพระสิงห์ ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็กที่ภายในนั้น ทำการตกแต่งด้วยศิลปกรรมชั้นเยี่ยมหลายแขนง ทั้งงานจิตรกรรม งานฉลุ และงานแกะสลัก เป็นต้นครับ โดยองค์พระสิงห์ที่ได้ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารแก้วนี้ ประทับอยู่ในบุษบกงดงาม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนาไทยพุทธศตวรรษที่ 21 มีพุทธลักษณะสง่างาม มีขนาดหน้าตักกว้าง 37 เซนติเมตร สูงทั้งฐานรวม 66 เซนติเมตร หล่อด้วยสำริดปิดทอง

วัดพระสิงห์เชียงราย

ถึงแม้ว่าองค์พระสิงห์ นั้นจะมีขนาดเล็กแต่ประดิษฐานไว้อย่างงามสง่า อยู่บนบุษบกกลางวิหาร ท่ามกลางงานประดับตกแต่งเชิงช่างชั้นเยี่ยมภายในวิหารแก้ว สร้างความปีติอิ่มบุญและบรรยากาศของความเคารพศรัทธาเมื่อได้เข้าไปกราบไหว้ได้เป็นอย่างดี

2. พระอุโบสถ

พระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 สันนิษฐานว่าสร้างบนฐานเดิมของวิหารในยุคล้านนา ซึ่งมีรูปแบบและสถาปัตยกรรมคล้ายกับวิหารของวัดงามเมือง (หลังเก่า) และวัดพระแก้ว สันนิษฐานว่าช่างผู้ออกแบบและก่อสร้างคือช่างคณะเดียวกัน เนื่องจากพระอุโบสถนั้นถูกสร้างขึ้นมาอย่างงดงามตามแบบศิลปะล้านนาเชียงแสน โดยโครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็ง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายต่อหลายครั้ง ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์สำริดปิดทอง ที่มีหน้าตักกว้าง 204 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 284 เซนติเมตร

วัดพระสิงห์เชียงราย

ในพระอุโบสถยังมีสิ่งน่าชมคือบานประตูหลวง ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2530 แกะสลักด้วยไม้อย่างประณีตอลังการ ออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย “ถวัลย์ ดัชนี” และแกะสลักโดยสล่าอำนวย บัวงาม โดย อ.ถวัลย์ได้ออกแบบการแกะสลักบานประตูเป็นปริศนาธรรม เกี่ยวกับเรื่องราวของธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นสัญลักษณ์รูปสัตว์ 4 ชนิด คือ ช้างเป็นสัญลักษณ์ของดิน ครุฑเป็นสัญลักษณ์ของลม นาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ และสิงโตเป็นสัญลักษณ์ของไฟ

โดยที่บานประตูหลวงนี้ คุณสล่าอำนวย ร่วมกับลูกศิษย์ได้ใช้เวลาในการแกะสลักเกือบหนึ่งปี จนได้ผลงานออกมาอย่างสวยงามประณีตบรรจง ที่ช่วยส่งเสริมความงดงามของพระอุโบสถหลังนี้ให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น

3. พระมหาเจดีย์ พุทธศิลป์แบบล้านนา

บริเวณด้านหลังพระอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานองค์เจดีย์ทองอร่ามพุทธศิลป์แบบล้านนา สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง คือ พ.ศ. 2492 ครั้งหนึ่ง โดยท่านพระครูสิกขาลังการ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และอีกหลายครั้งในสมัยต่อมา โดยท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

วัดพระสิงห์เชียงราย

และสิ่งไม่ควรพลาดกราบสักการะของวัด ก็คือ พระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลาทราย ที่มีขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 150 เซนติเมตร ซึ่งมีจารึกอักษรขอมโบราณเอาไว้ว่า “กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา” นั่นเองครับ

ข้อมูลของวัดพระสิงห์ เชียงราย

  • ที่อยู่ : ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  • พิกัด : https://maps.app.goo.gl/ejPpsW1kM8sbPM4g9
  • เบอร์โทรศัพท์ : 053 – 711 – 735
  • เวลาเปิดให้เข้าชม : ตั้งแต่ 08.00 – 18.30 น.

โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นแค่เพียงเรื่องราวบางส่วนของ วัดพระสิงห์เชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดดังคู่บ้านคู่เมืองเชียงราย หากใครได้มีโอกาสไปเที่ย จังหวัดเชียงราย อย่าลืมเอาพิกัด วัดดังเชียงราย แห่งนี้ปักหมุดไว้ แล้วลองหาเวลาไปไหว้พระสิงห์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด กันได้เลยครับ สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด คงต้องขอตัวลากันไปก่อน บทความหน้าเราจะพาไปเที่ยวไหว้พระที่ไหน รอติดตามชมกันได้เลย สวัสดีครับ

Scroll to Top